ปลาเข็มหม้อ
Fish
Story
การจำแนกประเภท / ชื่อ
Actinopteri (ray-finned fishes) > Beloniformes (Needle fishes) > Zenarchopteridae (Internally fertilized halfbeaks)
Etymology: Dermogenys: Greek, derma = skin + Greek, geny, -yos = face, jaw.
ชื่อวิทยาศาสตร์:
สภาพแวดล้อม: สภาพแวดล้อม / เขตภูมิอากาศ / ช่วงความลึก / ช่วงการกระจาย
มารีน; น้ำจืด; กร่อย; ทะเล-neritic; ช่วง pH: 7.0 - 8.0; ช่วง dH: 9 - 19; ช่วงความลึก - m (Ref. ) ปกติ - m (Ref. ) เขตร้อน; 24°C - 28°C
การแพร่กระจาย
เอเชีย: แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย,ประเทศไทย, ประเทศลาว
ขนาด / น้ำหนัก / อายุขัย
Maturity: Lm ? range ? - ? cm
Max length : 16.1 cm TL male/unsexed;
วงจรชีวิตและพฤติกรรมการผสมพันธุ์
ออกลูกประมาณ 10-30 ตัว
ลักษณะทั่วไป/ชีววิทยา
ปลาเข็มหม้อมีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยใช้ปากกัดขบกันเรียกว่า"ติดบิด"ตัวที่มีริมฝีปากบนขนาดใหญ่และกรามแข็งแรงกว่าจะได้เปรียบส่วนปากล่างที่เป็นรูปคล้ายเข็มนั้นไม่ได้ใช้ทิ่มแทงในการต่อสู่แต่อย่างใดปัจจุบันมีบ่อนกัดปลาเข็มถูกต้องตามกฎหมายน้อยมากนิยมเลี้ยงกัดพนันในจังหวัดภาคตะวันออกคือระยองมีปลาเข็มหม้อที่อำเภอประแสร์เป็นตำนานปลาเก่งของภาคตะวันออกมีบ่อนผูกทุกวันเสาร์ที่จังหวัดตราดมีปลาจากจันทบุรีและเกาะช้างข้ามมาประลองเป็นประจำ สนามกัดปลาเข็มมาตรฐานนั้นยังคงเป็นกระถางเขียวซึ่งเป็นกระถางเคลือบจากเมืองจีนอายุเกินร้อยปีดั้งเดิมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว
เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย
ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ